การศึกษาสายพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง


ในประเทศไทยนั้น มูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โดยงานเกษตรที่สูงในขณะนั้น) ได้มีการนำต้นพันธุ์มะเดื่อฝรั่งจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกและศึกษาวิจัย มาเกื่อบ 25 ปีแล้ว เพื่อวัตถุประสงค์ในการหาพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวไทยภูเขาทดแทนการ ปลูกฝิ่นทางภาคเหนือ



หลังจากงานวิจัยเสร็จสิ้นและพบว่ามะเดื่อฝรั่งบางสายพันธุ์ได้แก่ Conadria, Beall, Brown Turkey และ Purplish Black เป็นต้น สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้อย่างน่าพอใจให้ผืนแผ่นดินไทยแม้จะประสบ ปัญหาเกี่ยวโรคแมลงในแปลงทดลองบ้างก็ตาม อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายภาควิทยา และการเจริญเติบโตของมะเดื่อฝรั่งอีก 2 สายพันธุ์ ได้แก่ White Marseilles และ Dauphine ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเวลาต่อมาเพิ่มเติมมากขึ้น


นอกจากนี้ในปี พ.ศ 2547 ได้ มีการนำต้นมะเดื่อเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นอีก 5 สายพันธุ์โดยฝ่ายไม้ผลของมูลนิธิโครงการหลวงได้แก่ สายพันธุ์ Kedota, Lisa, Sugar, Dauphine และ Brown Turkey โดยปลูกไว้ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะเพื่อทำการขยายพันธุ์ ปัจจุบันยังพบว่าสายพันธุ์ Black Genoa, Brown Turkey และ Conadria ปลูกเพื่อเก็บรักษาต้นพันธุ์ไว้ในแปลงทดลองของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางและสถาน นีวิจัย โครงการหลวงอินทนนท์ (หน่วยวิจัยย่อยขุนห้วยแห้งอยู่อีกจำนวนหนึ่ง)

ลักษณะทางพฤกษศาตร์ของมะเดื่อฝรั่ง
ลำต้นและเนื้อไม้ที่อ่อนที่แยกหลุดออกได้ง่ายและไม่พบส่วนที่เป็น pith อยู่ ใบมีความหนาและค่อนข้างแข็ง ลักษณะใบเดี่ยว ส่วนใหญ่ขอบใบหยักลึก 3-5 หยัก แต่ก็อาจพบมีลักษณะที่ตรงไม่หยักทำให้ภายในลำต้นเดียวกันมีรูปร่างใบได้หลาย แบบและมีลักษณะหนึ่งในการจำแนหสายพันธุ์ได้ ก้ารใบที่อยู่ในพื้นที่ร่มจะมีความยาวกว่าส่วนที่อยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง สีของก้านใบจะมีความสัมพันธ์กับสีของผลและตายอด ดอกมีขนาดเล็ก มีสามประเภท ได้แก่ ดอกตัวเมียที่มี style ยาว ดอกตัวเมียมี style สั้น (ดอกทั้งสองชนิดสามารถเกิดการผสมเกสรและเจริญต่อไปเป็นผลได้) และดอกตัวผู้ ผลของมะเดื่อฝรั่งไม่ใช่ผลจริงแต่เป็น Synconium หรือ ฐานรองดอกที่มีส่วนประกอบของช่อดอกมีก้านโค้งเข้าหากันจัดเป็นผลไม้ขนาดเล็ก ที่มีเมล็ดเดี่ยว จัดเรียงกันอยู่ด้านในของก้ารช่อดอก รูปร่างของผลมีหลายรูปแบบเช่น กลวงโบ๋ (Hollow) ทรงกลม (Glbular) หรือทรงกลมระฆังเหมือนลูกแพร์ มีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันส่วนมากเมล็ดจะมีลักษณะแบน จะมี endocarp ห่อหุ้ม ทำให้มีความแข็งเล็กน้อยซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพืชชนิดนี้และเป็นต้นไม้ที่ มีอายุยืนยาวมากกว่า 100 ปี ในทางการค้าเราสามารถจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 10 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและสภาพอากาศ และการดูแลที่เหมาะสม


มะเดื่อฝรั่งสามารถให้ผลผลิตได้ 1-2 ครั้งต่อปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกในฤดูใบไม้ผลิ ผลรุ่นที่หนึ่งจะพัฒนามาจากตาที่เกิดจากกิ่งปีที่แล้ว ส่วนผลรุ่นที่สองจะเกิดจากกิ่งที่กำลังเจริญเติบโตช่วงเวลาถัดมาและพบว่ามี จำนวนมากกว่าชุดแรก


สายพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่มีการนำมาทดลองวิจัยในโครงการ มีหลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่
(1) พันธุ์ Brown Turkey เป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมากที่สุด ผลมีขนาดใหญ่ รับประทานสดผลผลิตชุดแรกมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม ผลชุดหลังมีขนาดเล็กกว่า เนื้อผลสีชมพูอ่อนๆ ต้นมีขนาดเล็ก ถ้ามีการตัดแต่งมากจะมีผลกระทบต่อผลผลิต
(2) พันธุ์ Celeste ผลออกสีแดงปนม่วง เนื้อเหลืองอำพันเหมือนสีดอกกุหลาบ รับประทานสด เป็นพันธุ์ที่แนะนำให้ปลูกโดยทั่วไปต้นมีความแข็งแรง
(3) พันธุ์ Kadota ผิวผลมีความเหนียว และสีเหลืองเขียวผลผลิตชุดแรกมีรสชาติที่ดีกว่า เป็นพันธุ์ที่ใช้ในการอบแห้งและแปรรูป ต้นมีคามแข็งแรงปกติไม่มีเมล็ด (Seedless)
(4) พันธุ์ Conadria มีต้นกำเนิดแถบริมแม่น้ำในแคลิฟนร์เนีย ผลมีผิวบางและสีขาวเจือม่วง เนื้อผลสีขาวถึงแดงไม่เน่าง่าย ต้นมีความแข็งแรงสามารถปลูกในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงได้
(5) พันธุ์ Dauphine ปลูกในฝรั่งเศส ใช้บริโภคผลสด ทนทานต่อการขนส่ง ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ ผิวเป็นมัน ในสภาพกลางแจ้งผิวสีม่วงเข้มและในร่มสีม่วงออกสีเขียวเนื้อหนา คุณภาพดีผลรุ่นสองมีขนาดปานกลาง

ที่มา ศูนย์วิจัยระบบนิเวศเกษตร  สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มูลนิธิโครงการหลวง   จ.เชียงใหม่ โทร.  02-5795556   สายใน  1086

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม